ต้องการความช่วยเหลือ ค้นหาได้เลย

ทำความรู้จัก Brain Fog หรือภาวะสมองล้า
ทำความรู้จัก Brain Fog หรือภาวะสมองล้า
ทำความรู้จัก Brain Fog หรือภาวะสมองล้า
 
 
หลายต่อหลายคน อาจเคยประสบปัญหาจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้ มีอาการหลงๆ ลืมๆ หรือไม่สามารถรับมือกับหลายๆ สถานการณ์ได้พร้อมกัน ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึง “ภาวะสมองล้า” หรือ “Brain Fog” ที่ฟังแล้วอาจดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่แท้จริงแล้วเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของสมอง


ภาวะสมองล้าคืออะไร?

ภาวะสมองล้า หรือ Brain Fog ไม่ได้เป็นโรคที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่หมายถึงอาการที่ได้รับผลกระทบจากการทำงานของสมอง โดยอาการจะคล้ายกับการมีเมฆหมอกปกคลุมสมองอยู่ ทำให้ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ คิดช้าลง หรือหลงลืมได้ง่าย นอกจากนี้ ยังรวมถึงความเหนื่อยล้าทางจิตใจ อารมณ์แปรปรวน และภาวะความเครียดด้วยเช่นกัน 

ภาวะสมองล้า สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ วัยทำงาน หรือผู้สูงอายุ ข้อดีคือสามารถฟื้นฟูให้การทำงานของสมองกลับคืนสู่ภาวะปกติได้ แต่อีกทางหนึ่งก็อาจสามารถกลับมาเป็นได้อีกเช่นกัน หากยังรักษาไม่ตรงจุด ซึ่งอาการของภาวะสมองล้า มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม การเรียน การทำงาน รวมถึงคุณภาพการนอนหลับ เป็นต้น
 

สาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะสมองล้า 

  • นอนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • เครียด
  • ขาดการออกำลังกาย
  • ร่างกายขาดน้ำ
  • มีโรคเรื้อรังบางโรค
  • มีอาการทางจิตเวช เช่น วิตกกังวล หรือซึมเศร้า 
  • ฮอร์โมนไม่สมดุล

นอกจากนี้ ผลการศึกษาวิจัย ยังระบุเพิ่มเติมว่า สุขภาพสมอง มีความสัมพันธ์กับความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ และระดับสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกาย ที่เรารับมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งจากมลภาวะ อาหาร หรือ น้ำดื่ม เป็นต้น


ทำอย่างไรอย่างไรให้ภาวะสมองล้ากลับมาแข็งแรง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลให้สุขภาพสมองแข็งแรง มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสมองล้า หรือป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เริ่มจากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับเป็นเวลา ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บริหารจัดการความเครียดของตนเอง และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมอง 

แต่หากกรณีภาวะสมองล้า ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะฮอร์โมนขาดความสมดุล จุลินทรีย์ในลำไส้ขาดความสมดุล หรือมีสารพิษตกค้างในร่างกาย อาจจำเป็นต้องตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อน เพื่อการฟื้นฟูภาวะสมองล้าอย่างตรงจุด

โดยปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวล้ำมากยิ่งขึ้น มีการตรวจค้นหาสาเหตุ และการฟื้นฟูทางการแพทย์ ที่สามารถช่วยให้ภาวะสมองล้า คืนกลับมาเป็นสมองที่แข็งแรงได้

ดังนั้นแล้วการค้นหาต้นตอ หรือสาเหตุของการเกิดภาวะสมองล้า จึงเป็นกุญแจหลักที่จะช่วยให้แพทย์สามารถแนะนำการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับแนะนำทรีตเม้นท์ทางการแพทย์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ให้ภาวะสมองล้าได้รับการฟื้นฟูดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

นพ.เขษม์ชัย เสือวรรณศรี
อายุรแพทย์ชำนาญการด้านประสาทวิทยา
ผู้อำนวยการแพทย์ ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ 
Facebook
Twitter
Link
Line
My default image

Feel Younger . Look Better . Live Longer

Book an appointment

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร!