ต้องการความช่วยเหลือ ค้นหาได้เลย

ปัจจัยเสี่ยง “น้องชาย” เสื่อม
ปัจจัยเสี่ยง “น้องชาย” เสื่อม

ปัจจัยเสี่ยง “น้องชาย” เสื่อม

  • ในภาษาชาวบ้านนั้น ”น้องสาวไม่ฟิต” จะหมายถึง อวัยวะส่วนนั้นของคุณผู้หญิงมีความกระชับสมส่วนหรือไม่ ไม่หลวมหรือกว้างเกินไป ส่วนในผู้ชาย “น้องชายไม่ฟิต” ก็มักจะมองถึงขนาดว่ามีความแข็งแกร่งเพียงใด ยืด ขยายได้เต็มที่หรือไม่
  • ในปัจจุบันคนเราทำงานหนักขึ้น มีความกังวลและมีความเครียดมากขึ้น ทำให้ระดับฮอร์โมน DHEAs ต่ำลง เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ผลที่ตามมาคือทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวของ “น้องชาย”
  • ยากินต้านฮอร์โมนเพื่อปลูกผมและยากินต้านฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการต่อมลูกหมากโต  หากกินต่อเนื่องไปนาน ๆ จะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้
“น้องชายและน้องสาว” ในมุมมองของแพทย์ที่ดูแลเรื่องการเจริญพันธุ์ มีไว้เพื่อทำกิจกรรมทางเพศ การมีกิจกรรมระหว่างชาย หญิง มีเหตุผล 2 ประการคือ 1.เพื่อการเจริญพันธุ์ และ 2. เพื่อความสุขสมร่วมกัน ในแง่การเจริญพันธุ์ ฝ่ายชายต้องมีความแข่งแกร่งเพียงพอ ไม่อ่อนปวกเปียก พร้อมที่จะสอดผ่านไปยังอวัยวะเพศของฝ่ายหญิง และสุดท้ายจะมีการหลั่งน้ำอสุจิ เพื่อปฎิสนธิกับไข่ และเกิดการเจริญพันธุ์ขึ้น กระบวนการต่าง ๆ ต้องใช้ฮอร์โมนเป็นตัวช่วย เนื่องจากฮอร์โมนคือสารชีวเคมีในร่างกาย ซึ่งจะหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ เข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อทำงานตามหน้าที่
ดังนั้นปัจจัยหลักที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ทำให้ “น้องชาย” เสื่อม ก็คือ “ฮอร์โมน” โดยเฉพาะฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ฮอร์โมนเพศ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นฮอร์โมนเพศชายและออร์โมนเพศหญิง ฮอร์โมนเพศชายมีส่วนสำคัญกับความรู้สึกที่จะมีกิจกรรมทางเพศ ถ้ามีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สมบูรณ์ เมื่อมีกิจกรรมทางเพศจะเกิดความสุขสม ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่นอน มีความรักให้กันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากเกิดการสูญเสีย ขาด หรือไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศ จะทำให้ระบบต่าง ๆ นั้นเสียไป
 

ปัจจัยเสี่ยง น้องชายไม่ฟิต

“น้องชาย” หรือ “อวัยวะเพศชาย” ถ้าหากยังฟิต การขยายตัวของเส้นเลือดและการไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณนั้นต้องดี ไม่มีไขมันเกาะในเส้นเลือด ซึ่งฮอร์โมนเพศชายนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละลายไขมันและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
ฮอร์โมนเพศชายที่ดีจะทำให้สารสื่อประสาท ไปกระตุ้นให้หลั่งสารแห่งความสุข ที่เรียกว่า “เอนโดรฟิน” เมื่อสารแห่งความสุขหลั่งออกมาจะทำให้เกิดความผ่อนคลาย หายเครียด นอนหลับได้ดี กระบวนการในการสร้างออร์โมนกันแก่ชราหรือ โกรทฮอร์โมนทำงานได้ดี จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมน มีผลต่อสุขภาพทั้งกายและใจ รวมถึงสุขภาพทางเพศ
ดังนั้น คุณผู้ชายทั้งหลายจึงต้องรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมบูรณ์ อยู่ในระดับที่พอเพียง ถ้าฮอร์โมนเพศดี นอกจากจะทำให้สุขภาพทางเพศดีแล้ว ยังทำให้สุขภาพร่างกายส่วนอื่น ๆ ดีไปด้วย
ฮอร์โมนเพศนั้น สร้างมาจากสารอาหารชื่อว่า คอเลสเตอรอล ที่ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ต่อมหมวกไต โดยฮอร์โมน DHEAs ที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนเครียดที่เรียกว่า คอติซอล (cortisol) ในปัจจุบันที่คนเราทำงานหนักขึ้น มีความกังวลและมีความเครียดมากขึ้น ทำให้ระดับฮอร์โมน DHEAs ต่ำลง ทำให้เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ผลที่ตามมาคือทำให้ฮอร์โมนเพศลดลง
การกินยาต้านคอเลสเตอรอล ทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศลดลง การทำงานหนัก พักผ่อนไม่พอ ต่อมหมวกไตเกิดความล้า ทำให้ฮอร์โมนที่เป็นวัตถุดิบที่จะไปสร้างฮอร์โมนเพศ ก็จะลดลง ดังนั้นการดูแลเพื่อให้ “น้องชาย” ทำงานได้ดี ต้องดูแลแบบครบวงจร เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนโดยใช้หลักของ Anti-aging
 

ปัญหาหย่อนสมรรถภาพ หรือนกเขาไม่ขัน (Erectile Dysfunction)

ในสมัยก่อนเชื่อว่าคนที่มีอายุมากกว่า 50-60 ปีขึ้นไป จึงจะเริ่มมีปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ แต่ในปัจจุบันพบว่า ในคนที่มีอายุน้อย เช่น ในคนวัยทำงานอายุ 30-40 ปี ก็สามารถประสบปัญหานี้ได้เช่นกัน หนึ่งในสาเหตุของคนที่มีอายุน้อยที่มีปัญหานี้เกิดจากความเครียด นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากสาเหตุอื่น ได้แก่
การไม่ดำเนินชีวิตตามนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock / Circadian rhythm) ช่วงเวลาที่ควรนอนหลับพักผ่อน แต่กลับไม่ได้นอน ในผู้ชายการนอนหลับมีความสำคัญมากกับการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งการสร้างฮอร์โมนเพศนั้น จะสร้างในตอนกลางคืนขณะที่นอนหลับสนิทในความมืด และตามนาฬิกาชีวภาพนั้นคนเราควรเข้านอนเวลา 22.00 น. เพื่อให้หลับสนิทในช่วงเที่ยงคืน ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตฮอร์โมนเพศชายหลั่งออกมาเป็นจำนวนมากและสูงสุดในตอนเช้า สังเกตได้ง่าย ๆ หากตอนเช้าที่ตื่นขึ้นมา อวัยเพศหรือน้องชายนั้น ตื่นขึ้นมาด้วย (Morning erection) แสดงว่าระบบฮอร์โมนนั้นยังดี ระบบการไหลเวียยนเลือดและระบบประสาทก็จะดีด้วย แต่ปัจจุบัน ผู้ชายส่วนมากมักจะไม่ได้นอนจนกระทั่งดึกดื่น กินเหล้า ปาร์ตี้ สังสรรค์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้กระบวนการผลิตฮอร์โมนเพศชายนั้นลดลง และอาจทำให้เกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพ หรือนกเขาไม่ขันตามมาได้

ตามปกตินั้นหากเกิดปัญหาหย่อนสมรรถภาพ คุณผู้ชายส่วนมากมักจะไม่กล้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรง แต่มักจะปรึกษาแพทย์ทางด้าน Anti-aging ซึ่งแพทย์ก็จะต้องทำการซักประวัติอย่างละเอียด ตั้งแต่เรื่องของการกินยา โดยเฉพาะยาลดไขมันหรือลดคลอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศลดลง การกินยานอนหลับเป็นประจำยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งยาทั้งหลายเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางเพศของฝ่ายชายเป็นอย่างมาก

หลังจากซักประวัติแล้ว แพทย์ Anti-aging จะทำการตรวจระดับฮอร์โมนทั้งระบบในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนอินซูลิน รวมถึงฮอร์โมนเพศ เนื่องจากฮอร์โมนทุกชนิดจะทำงานร่วมกัน เมื่อตรวจเช็กฮอร์โมนทั้งหมดแล้ว จะทำให้รู้ถึงปัญหาและสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
การตรวจเช็กระดับฮอร์โมน ควรตรวจทั้งระบบไม่ควรเลือกตรวจเฉพาะฮอร์โมนเพศชายเท่านั้น เนื่องจากอย่างที่กล่าวแล้วว่า ฮอร์โมนในร่างกายนั้นทำงานสอดคล้องกัน ดังนั้นการตรวจฮอร์โมนเพศชายเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบายสาเหตุและกลไกที่แท้จริงได้

หากฮอร์โมนอินซูลิน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ จะส่งผลให้การควบคุมน้ำตาลทำได้ไม่ดี เกิดปัญหาน้ำตาลกลายเป็นไขมันไปอุดเส้นเลือดได้ นอกจากนี้ฮอร์โมนอินซูลินที่ผิดปกติจะไปรบกวนการทำงานของสมองที่สร้างโกรทฮอร์โมน ดังนั้นหากมีปัญหาร่างกายที่คิดว่าเกิดจากผลของฮอร์โมนจึงควรตรวจฮอร์โมนทั้งระบบ เพื่อดูปัจจัยที่เป็นปัจจัยหลัก หรือปัจจัยเสริมที่ก่อให้เกิดปัญหา

การตรวจเช็กระดับฮอร์โมน ควรทำการตรวจในช่วงเช้า งดน้ำ งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมงก่อนตรวจ โดยฮอร์โมนเพศชายนั้นจะสูงสุดในช่วง 7.00 - 9.00 น.

นอกจากฮอร์โมนแล้ว ปัญหาเรื่องของน้ำตาลและไขมันในเลือดก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจควบคู่ไปด้วย เพราะปัญหาเหล่านี้มีผลกับหลอดเลือด หากมีค่าน้ำตาลหรือไขมันในเลือดสูง จะมีผลทำให้อวัยวะเพศไม่แข็งแรงได้เช่นกัน
ทั้งนี้ผู้ชายในแต่ละวัย แต่ละสาเหตุจะให้การรักษาแตกต่างกัน โดยจะใช้เทคโนโลยีในการดูแลตามสภาพและตามกลไกที่ทำให้เกิดปัญหา
 

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

  • ยาที่มีผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย ได้แก่ ยากินต้านฮอร์โมนเพื่อปลูกผม และ ยากินต้านฮอร์โมนเพื่อรักษาอาการต่อมลูกหมากโต  ยา 2 ประเภทนี้ หากกินต่อเนื่องไปนาน ๆ จะส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้เช่นกัน
  • อายุที่มากขึ้น การแข็งตัวของอวัยวะเพศอาจใช้เวลานานและอาจแข็งตัวได้ไม่เต็มที่
  • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจ
  • การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการที่ไปจำกัดการไหลเวียนของเลือดไปยังเส้นเลือดและหลอดเลือดแดง นำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • อ้วน หรือ น้ำหนักเกิน
  • การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมาก
  • การฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง
  • การบาดเจ็บที่ทำลายเส้นประสาทหรือหลอดเลือดแดงที่ควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • สภาพจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า
  • การใช้ยาเสพติดต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก
ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีความละเอียดอ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจสำหรับคุณผู้ชาย แต่หากปล่อยไว้ไม่รับการรักษา อาจทำให้ความมั่นใจในตัวเองลดลง มีปัญหาเวลามีเพศสัมพันธ์ และทำให้มีปัญหาชีวิตคู่ตามมาได้ ดังนั้นหากเกิดปัญหาควรไปปรึกาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
 
ผศ.นพ. พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์
แบรนด์แอมบาสเดอร์อาวุโส และแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์
Facebook
Twitter
Link
Line

Our doctors can help.

My default image

Feel Younger . Look Better . Live Longer

Book an appointment

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร!