ต้องการความช่วยเหลือ ค้นหาได้เลย

สะเก็ดเงิน   

สะเก็ดเงิน หายเกลี้ยงได้ถ้าตั้งใจรักษา

Annotation-2022-07-13-104550.png

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมาก แม้ว่าจะพบ 1-2 % ของประชากร ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เพราะอาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรมแต่กำเนิด ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันและปัจจัยกระตุ้นภายนอก (ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนดึก การดื่มสุราและสูบบุหรี่ การแกะและเกา) รวมทั้งโรคบางกลุ่มที่อาจเสริมอาการของโรคสะเก็ดเงินได้ เช่น โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น

 

สะเก็ดเงินมีกี่แบบบ้าง

ชนิด วิธีสังเกต
ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) ผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาว พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา โดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่า
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) ตุ่มแดงขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) ตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
ผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย อาจเกิดจากการขาดยาที่รักษา หรือมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ
สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) ผื่นแดงเรื้อรังและมักไม่ค่อยมีขุย พบบริเวณ รักแร้ ขาหนีบ และใต้ราวนม
สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) ผื่นแดงขอบเขตชัดเจน ขุยลอก ผื่นอาจพบลามมาบริเวณหลังมือ หลังเท้าได้
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) พบการอักเสบของข้อร่วมด้วย พบได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก ข้อเดียว หรือ หลายข้อ  ส่วนใหญ่จะเกิดที่ข้อนิ้วมือ หากเป็นเรื้อรังอาจเกิดการผิดรูปได้
เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) พบความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย เช่น เล็บเป็นหลุม, เล็บร่อน, เล็บหนา,เล็บผิดรูป


skin-allergy-reaction-person-s-arm.jpg

การรักษาโรคสะเก็ดเงิน

  • หากมีผื่นไม่มากนัก อาจให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
  • หากมีผื่นจำนวนมากหรือกระจายทั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการทางข้อร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาโดยยารับประทาน ยาฉีด  การฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ยาทาร่วมด้วย


ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน

ยาทาภายนอก
  • ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ (Topical corticosteroids) ลดการอักเสบของผิวหนัง
  • น้ำมันดิน (Tar) ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ
  • แอนทราลิน (Anthralin) ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ
  • อนุพันธ์วิตามินดี (Calipotriol)มีฤทธิ์ทำให้การอักเสบของเซลล์ผิวหนังกลับสู่ปกติ
  • ยาทากลุ่ม Calcineurin inhibitor ยับยั้งการอักเสบ นิยมใช้รักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้าหรือตามซอกพับ
ยารับประทาน
  • เมทโทเทรกเสท (Methotrexate) ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ เป็นยาที่ได้ผลดีกับสะเก็ดเงินเกือบทุกชนิด รวมถึงมีฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • อาซิเทรติน (Acitretin) ยารับประทานในกลุ่ม vitamin A
  • ไซโคลสปอริน (Ciclosporin) มีฤทธิ์ลดการอักเสบและกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การฉายแสงอาทิตย์เทียม (Phototherapy) ใช้รังสีอัลตราไวโอเลต โดยแนะนำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนติดต่อกัน ให้ผลดี 70 - 80% ขึ้นไป พบผลข้างเคียงน้อย  และลดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้ดี
ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ (Biological agents)
ยาใหม่ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดการอักเสบและลดการหลั่งสารที่กระตุ้นการอักเสบ ซึ่งยานี้อยู่ในรูปยาฉีดเข้าเส้นหรือเข้าใต้ชั้นไขมัน ซึ่งในปัจจุบันมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงมาก ได้แก่ Secukinumab ,Ixekizumab ,Brodalumab ,Guselkumab ,Adalimumab,Ustekinumab
, Etanercept, , Infliximab ซึ่งยาเหล่านี้มีผลดีในการรักษาโรคสะเก็ดเงิน และข้ออักเสบด้วย
 

หากพบว่าตัวเองมีผื่นที่รักษาไม่หาย หรือหาสาเหตุไม่เจอ สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ได้ที่ ศูนย์ความงามและผิวพรรณไวทัลไลฟ์ เพื่อรักษาและดูแลอย่างเหมาะสมและปลอดภัย

 
LASTEST BLOG POST

การวัดอายุทางชีวภาพ

เริ่มไขความลับเพื่อชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดีขึ้นด้วยโปรแกรม Blood Age

อ่านเพิ่มเติม
My default image

Feel Younger . Look Better . Live Longer

Book an appointment

ไม่พลาดข้อมูลข่าวสาร!